สัปดาห์นี้เห็นหลาย ๆ คน เขียนเกี่ยวกับเรื่องพรบ. คอมฯ กันเยอะ อย่างที่ blognone หรือเว็บอื่น ๆ แม้แต่วันก่อน ไอทีวีก็มีสัมภาษณ์เช่นเดียวกัน ตอนนี้ก็ถึงขั้นตอนที่รอโปรดเกล้าแล้ว ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยปกติการร่าง พรบ. ต่าง ๆ ต้องผ่านหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเสนอร่าง ผ่านสภานิติบัญญัติ ทำการแปรญัตติ เมื่อพิจารณารอบคอบแล้ว ผ่านสภา จึงถวาย โปรดเกล้า ฯ ลงพระปรมาภิไทย เมื่อประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาก็จะมีผลบังคับใช้ทันที เว้นแต่ในกรณีนี้ พรบ.ได้กำหนด ให้มีผล หลังประกาศในพระชารกิจจานุเบกษา 30 วัน ให้บรรดา ISP และผู้เกี่ยวข้องมีเวลาปรับตัว ซึ่งทั้งหมดก็คงไม่เกิน 60 วันนับจากนี้ และ Hacker (จริง ๆ น่าจะเรียก Cracker มากกว่า) ที่ถูกจับไปคงยังไม่ได้ใช้ พรบ.นี้ เพราะปกติกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง เท่าที่ดู กฎหมายค่อนข้างจะเน้นเรื่องเครือข่าย ไม่มีเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ เพราะน่าจะคนละประเด็นมั้ง อันนี้ต้องดูรายละเอียดของ กฎกระทรวงที่เป็นกฎหมายลูก เพราะ พรบ.คงไม่ลงรายละเอียดมาก โดยส่วนตัวคิดว่าโทษน้อยไปนิด อย่างอำนาจของกระทรวง ICT ที่รับผิดชอบ และเจ้าหน้าที่ ที่มีอยู่มาก แต่บทลงโทษกรณีที่เจ้าหน้าที่ทำผิดรู้สึกน้อยไปหน่อย เพราะรู้สึกจะไม่ค่อยไว้วางใจเท่าไหร่ 55+ ประเด็นอีกอย่างนึง คือเรื่องที่กฎหมายแทบทุกมาตราเป็นแบบยอมความไม่ได้ หมายความว่า กรณีที่เกิดการกระทำผิด คุณไม่ต้องไปฟ้องร้อง เป็นแค่เจ้าทุกข์แจ้งความ แล้วเจ้าหน้าที่จะจัดการเป็นโจทก์ให้ อันนี้ไม่รู้ว่าการทำความผิดที่ไม่รู้ตัวเนี่ย อย่างเช่น เครื่องคุณเป็นตัวแพร่ไวรัสจนระบบเจ๊งเนี่ย จะเข้าข่ายมั้ย ก็เราไม่รู้นิ แต่ใครจะเชื่อ เฮ้อ อย่างว่า คงต้องดูรายละเอียดที่กฎกระทรวงอีกที
ความจริง พรบ. ก็ไม่ได้ละเมิดความเป็นส่วนตัวเรานัก กรณีที่มีบุคคลอ้างเป็นเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ มาตราที่ 30 บอกให้ต้องแสดงบัตรเจ้าหน้าที่ด้วย ไม่ใช่ใครก็จะขอดูข้อมูลได้ แล้วจะขอดูได้ก็กรณีที่มีหลักฐานชี้ชัดว่ามาจากที่เราเท่านั้น จึงไม่ต้องกังวลมากครับ
http://www.etcommission.go.th/documents/laws/draft/20070515_cc_act_draft_final.pdf