การเงินกับชีวิตประจำวัน

วันนี้ ได้ดูรายการ คืนนี้กับสายสวรรค์ ทาง TITV ซึ่งปกติก็ดูบ่อย แต่ไม่ทุกวัน เพราะบางวันก็ไม่น่าสนใจเลย แต่วันนี้ มีผู้ร่วมรายการสองท่าน ที่ทำงานด้านการเงิน เกี่ยวกับการลงทุน คิดว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน เป็นชายหนึ่ง หญิงหนึ่งท่าน ชื่อไรผมก็ไม่แน่ใจ ลืมละ แต่มีประเด็นที่ดูน่าสนใจอยู่พอสมควร เรื่องการใช้จ่ายและออมเงิน

โดยปกติเราไม่ได้มีการวางแผนการใช้จ่ายเงินกัน อย่างผม ครอบครัวไม่ได้ปลูกฝังด้านการเงินมากนัก ตอนเด็ก ๆ ก็มีบ้างที่ไปฝากเงินที่ธนาคารออมสิน ผู้ร่วมรายการได้พูดเกี่ยวกับการที่คนไทยมีการออมมากกว่าราว 25-30% แต่ว่ามักไม่งอกเงย เพราะมักฝากประจำ ซึ่งก็น่าจะรู้ว่า การฝากประจำจะให้ดอกเบี้ยเพียงประมาณ 3% ต่อปี ( ทั้งที่ปล่อยกู้ 7.5% ) ซึ่งความจริงการลงทุนอื่น ๆ สามารถให้กำไรถึง 20% ในตลาดหลักทรัพย์ก็มีกำไรถึง 700% ความจริงความเสี่ยงเหล่านี้ก็มี แต่เค้าก็เปรียบเทียบกันการซื้อล็อตตารี่ ที่ไม่ได้ให้คืนอะไรเลยถ้าไม่ถูก อย่างว่า คนจนเล่นหวยคนรวยเล่นหุ้น แต่ที่น่าสนใจจะเป็นเรื่องกองทุนสวัสดิการต่าง ๆ ที่บริษัทมีให้ จริง ที่มีกองทุนที่หักเงินเลย อย่างกองทุนรวม กองทุนบำเหน็ดบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งดูก็เป็นการออมแบบนึง แต่ผมว่ามันอยู่ที่การใช้จ่ายมากกว่า เค้าแนะนำให้เราแบ่งเงินเป็นส่วน ๆ ทั้งในการเก็บและการใช้จ่าย ซึ่งคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีเหมือนกัน แต่ก็ยากอยู่ที่จะทำ เพราะวิธีการบริหารเงินของแต่ละคนต่างกัน

เมื่อเดือนก่อน ผมไปเที่ยวที่ลาวผ่านทางหนองคาย ทริปนี้แพงละดูไม่ค้มค่ามาก ๆ อยากรู้ต้องไปเอง แต่สิ่งที่ได้ คือเรียนรู้วิถีชีวิตของคนลาว ที่ต่างจากคนไทย โดยเฉพาะเรื่องการเงิน คนไทยในปัจจุบันนิยมใช้จ่ายเงินเกินตัว ไม่มีก็ผ่อน อย่างการซื้อรถยนต์ ไม่มีก้อกู้ ดาวน์น้อยผ่อนนาน แต่คนลาวนิ ไม่มีก็ไม่ซื้อ คนลาวไม่ชอบเป็นหนี้ แล้วคนไทย กลับชอบซะงั้น

ตอนนี้ผมก็พยายามใช้จ่ายให้ฉลาดอยู่ ไม่อยากเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อย่างรถยนต์นี่ก็เป็นอย่างนึง ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเลย ในตอนนี้ ซื้อมาค่าน้ำมันก็แพงมาก ๆ fixed cost เดือนละราว ๆ 5000 สำหรับค่าน้ำมัน ที่รู้สึกพลาดเกี่ยวกับการจ่ายเงินก็น่าจะเป็น เรื่องที่กู้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่ความจริงน่าจะรับงานมาทำก็ได้ แต่คิดได้ตอนนี้ก็น่าจะช้าไปแล้ว แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะว่ายังไง ก็ผ่านมาแล้ว การจบมาพร้อมกับหนี้ก้อนนึงนี่ก็ไม่น่าจะโหดร้ายสักเท่าไหร่หรอก พอไหว ถึงตอนนี้จะพยายามจะใช้จ่ายให้ประหยัด แต่ก็มีบ้างที่อยากได้โน่นนี่ ก็คงต้องเปลี่ยนกลยุทธใหม่

การเรียนที่ผ่านมา ในมหาวิทยาลัย รู้สึกยังไม่พอ รู้สึกพลาดที่มัวไปทำงานกิจกรรมมากเกินไป แต่มันก็พอมีประโยชน์อยู่บ้าง ในการเข้าใจคน ผมลงเรียนการจัดการตัวนึง กับกฎหมายเบื้องต้น แต่ที่ขาดไปเป็นเรื่องการเงินที่สำคัญ ตอนนั้นไม่ได้มีแนวคิดในตอนนี้ ย้อนไป ผมก็เลือกสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาเอง ความจริงตอนอยู่ ม.6 ที่อาจารย์แนะแนวถามว่าจะเรียนต่ออะไร พอผมตอบว่าจะเลือกวิศวะ อาจารย์ถึงกับงง เพราะนึกว่าผมจะเลือกแนวสังคม-ภาษา เพราะตอนที่คะแนนเอ็นท์ครั้งแรกออกมา ได้สังคมเป็นอันดับที่สองของโรงเรียน ที่หนึ่งเป็นสายศิลป์ และติดหลักร้อยของประเทศ บวกกับบุคลิกที่เรียบร้อยแล้ว ความจริงผมได้รับการปลูกฝังมากกว่า เพราะตั้งแต่ประถม การสอบได้เป็นอันดับหลักเดียวของโรงเรียน ทำให้ผมต้องไปติวสังคม-ภาษาไทยเพื่อไปแข่ง แทนที่จะไปเรียนวิชาอื่น ๆ ทำให้ชีวิตวัยเด็ก ที่จะไปเล่นเตะบอลกับเพื่อนน่ะ ไม่มีหรอก อ่ะ.. ชักไปไกล ที่พูดมาก็อยากจะให้รู้ว่า การเรียนของเราก็มีผลกับความคิด เพราะทั้งหมดนี่ ไม่มีการสอนเรื่องการเงิน ที่สำคัญอย่างมาก รวมทั้งในมหาวิทยาลัย เว้นแต่คุณจะไปเรียนเอง

ผมคิดว่าอาจจะต้องไปเรียนเพิ่ม ส่วนโปรแกรมการเรียนคงต้องเปลี่ยนใหม่ เอาไว้ว่าง ๆ เด๋วมาเขียนละกัน